สัญญาขายฝาก คือ สัญญาที่มีกฎหมายกำหนด
สัญญาขายฝาก คือ สัญญาประกอบการทำธุรกรรมขายฝาก ที่มีกฎหมายขายฝากกำหนดลักษณะไว้เฉพาะ และระบุขั้นตอนการทำสัญญาไว้อย่างเป็นขั้นตอน โดยเป็นสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย คือ ผู้ขายฝาก (เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่นำอสังหาริมทรัพย์มาฝาก) กับ ผู้รับซื้อฝาก (นายทุนที่ให้เงินทุนเพื่อรับฝากอสังหาริมทรัพย์นั้น) โดยมีอสังหาริมทรัพย์เป็นสิ่งค้ำประกัน
ดังนั้นการทำสัญญาขายฝากจะต้องปฎิบัติตามกฎหมาย โดยเป็นประโยชน์ของตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เอง เพื่อป้องกันไม่ให้นายทุนนอกระบบใช้กลวิธีฉ้อโกงทรัพย์สินที่นำไปฝากได้ ยิ่งไปกว่านั้น กฎหมายขายฝากฉบับใหม่ ที่ผ่านสภาในปี 2562 ได้เพิ่มความคุ้มครองให้กับเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาฝากมากขึ้น หากจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากถูกต้องตามกฎหมาย
กฎหมายขายฝาก การทำ สัญญาขายฝาก
กฎหมายขายฝากในอดีตมีช่องโหว่ให้นายทุนนอกระบบเอาเปรียบประชาชนที่เดือดร้อน ทั้งการคิดดอกเบี้ยที่เกินกฎหมายกำหนด ระยะเวลาการไถ่ถอน หรือ การเอาเปรียบด้านการใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาขายฝาก โดนนายทุนนอกระบบใช้เล่ห์เหลี่ยมยึดที่ดินทำกิน จึงเกิดการแก้ไขและเพิ่มข้อกฎหมาย ออกเป็น กฎหมายขายฝากฉบับใหม่ พ.ศ. 2562 หรือมีชื่อเต็มว่า “พระราชบัญญัติคุ้มครองประชาชนในการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย พ.ศ. ๒๕๖๒” วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2562 และ ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา วันที่ 16 เมษายน พ.ศ.2562 เพื่อคุ้มครองประชาชนผู้ขายฝากมากขึ้น
การที่จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายขายฝาก
ต้องจดทะเบียนทำสัญญาขายฝากอย่างถูกต้อง
ข้อกฎหมายสรุปเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากได้ดังนี้
“ขายฝาก” หมายความว่า ขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย
“ผู้ขายฝาก” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ขายตามสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยหรือผู้รับโอนสิทธิในการไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝาก
“ผู้ซื้อฝาก” หมายความว่า ผู้ซื้อตามสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย หรือทายาทของผู้ซื้อฝากเดิม หรือผู้รับโอนทรัพย์สินที่ขายฝาก แล้วแต่กรณี
“เกษตรกรรม” หมายความว่า เกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
“ที่อยู่อาศัย” หมายความว่า อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างและหรือที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยหรือที่เกี่ยวเนื่องกับการอยู่อาศัยหรือเพื่อประโยชน์ในการอยู่อาศัย ไม่ว่าจะได้ใช้เป็นสถานที่ประกอบกิจการงานด้วยหรือไม่ก็ตาม
มาตรา 7 การขายฝาก ต้องทำหนังสือ (สัญญาขายฝาก) และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น หากไม่ทำหนังสือ (สัญญาขายฝาก) และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน จะถือว่าการขายฝากเป็นโมฆะ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย
มาตรา 8 หนังสือสัญญาขายฝาก ต้องประกอบด้วย ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา, รายการและลักษณะแห่งทรัพย์สินที่ขายฝาก, ราคาที่ขายฝาก, จำนวนสินไถ่, วันที่ขายฝากและกำหนดวันที่ครบกำหนดไถ่ แต่หากข้อมูลไม่ครบถ้วน ผู้ใดจะมาอ้างเหตุที่ข้อมูลไม่ครบว่าทำให้สัญญาขายฝากเป็นโมฆะไม่ได้
*สินไถ่จะสูงกว่าราคาขายฝากได้ แต่เมื่อคำนวณแล้ว ดอกเบี้ยจะคิดเหมือนการกู้ยืม คือ ห้ามเกินร้อยละสิบห้าต่อปี (ดอกเบี้ยห้ามเกิน 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือน)
อ่านเพิ่มเติม : กฎหมายขายฝาก ปี 2562 ฉบับใหม่ล่าสุด เจาะทุกประเด็น สรุปทุกมาตรา
ปรึกษา มิตรเมืองไทย
สะดวกรวดเร็ว สอบถามผ่าน Line ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การจดทะเบียน สัญญาขายฝาก ที่กรมที่ดิน
กฎหมายขายฝาก ระบุว่า การทำสัญญาขายฝาก ต้องจดทะเบียนทำหนังสือสัญญาขายฝาก ที่กรมที่ดิน โดยให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินเป็นผู้จัดทำให้เท่านั้น ถึงจะมีผลทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครอง
1. การจดทะเบียน สัญญาขายฝาก
การขายฝาก ต้องทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น หากไม่ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน หรือไปทำกันเองกับนายทุน จะถือว่าการขายฝากเป็นโมฆะ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือการขายฝากที่อยู่อาศัย โดย หนังสือสัญญาขายฝาก ต้องประกอบด้วย ชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา (ผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก), รายการทรัพย์สินที่ขายฝาก (เช่น โฉนดที่ดิน บ้าน อาคาร), ราคาที่ขายฝาก, จำนวนสินไถ่, วันที่ขายฝากและระยะเวลาที่จะขายฝาก
2. การขยายระยะเวลาไถ่ จาก สัญญาขายฝาก
กฎหมายขายฝาก มาตรา 10 : “สัญญาขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปีมิได้ ในกรณีที่กำหนดเวลาไถ่ต่ำกว่าหนึ่งปีหรือเกินสิบปี ให้ถือว่ากำหนดเวลาไถ่มีเวลาหนึ่งปี หรือสิบปี แล้วแต่กรณี แต่ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากก่อนครบกำหนดเวลาไถ่”
สรุป : มาตรา 10 การขายฝากต้องมีระยะเวลาขั้นต่ำที่ 1 ปี และ สูงสุดที่ 10 ปี โดยผู้ขายฝากสามารถมาไถ่ก่อนครบกำหนดเมื่อไรก็ได้ หากมีการขยายกำหนดเวลาไถ่ ให้นับรวมระยะเวลาขายฝากทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 ปี ตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรก
3. การไถ่ถอน สัญญาขายฝาก
กฎหมายขายฝาก มาตรา 18 : “ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือภายในเวลาที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ โดยอาจชำระสินไถ่ให้แก่ผู้ซื้อฝาก หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนการขายฝากทรัพย์สินนั้น โดยสละสิทธิถอนทรัพย์ที่ได้วางไว้”
สรุป : มาตรา 18 ผู้ขายฝากมีสิทธิไถ่ถอนทรัพย์ที่ขายฝากได้ตลอดเวลาภายในกำหนดของสัญญาขายฝาก โดยชำระสินไถ่ให้ผู้ซื้อฝาก หรือ หากไม่สามารถตามตัวผู้ซื้อฝากได้ ก็สามารถไปชำระสินไถ่ต่อสำนักงานวางทรัพย์/สำนักงานที่ดินจังหวัด/สำนักงานที่ดินที่จดทะเบียนขายฝากได้ เมื่อชำระสินไถ่แล้ว กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นจะตกกลับคืนเป็นของผู้ขายฝากทันที
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนขายฝาก
ค่าธรรมเนียมการขายฝากที่ดิน เกี่ยวข้องด้วยกันทั้ง สำนักงานที่ดิน (กรมที่ดิน) และ กรมสรรพากร เป็นค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่ายจดทะเบียนขายฝากที่ดินที่สำนักงานที่ดิน เป็นการจ่ายครั้งเดียวตลอดสัญญา
ส่วนที่ 1 : จะประกอบด้วย ค่าคำขอจดทะเบียนขายฝาก และ ค่าธรรมเนียมของการขายฝากจะเท่ากับ 2% ของวงเงินขายฝากหรือราคาราชการของที่ดิน แล้วแต่ว่าอย่างใดจะสูงกว่า
ส่วนที่ 2 : ค่าภาษีของกรมสรรพากร ประกอบด้วย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ค่าอากรแสตมป์ 0.5% และ หากถือครองน้อยกว่า 5 ปี จะมีภาษีธุรกิจเฉพาะอีก 3.3% (หากถือครองเกิน 5 ปี หรือ มีชื่ออาศัยในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปี จะไม่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะนี้)
ค่าธรรมเนียมขายฝากที่ดินที่สำนักงานที่ดิน (กรมที่ดิน) เป็นรายจ่ายเพียงครั้งเดียวตลอดระยะเวลาสัญญาขายฝาก เป็นการเก็บตามจริงของกรมที่ดิน มิตรเมืองไทยไม่มีการบวกเพิ่มใดๆ
ข้อควรระวังในการทำ สัญญาขายฝาก
1.1 ห้ามทำสัญญากันเองกับนายทุน โดยไม่จดทะเบียนกับกรมที่ดิน
ตั้งแต่ขั้นตอนการจดทะเบียนขายฝาก ไถ่ถอนการขายฝาก และ การขยายสัญญาขายฝาก จะต้องไปดำเนินการที่สำนักงานที่ดิน กรมที่ดิน เท่านั้น ห้ามดำเนินการเองกับผู้รับซื้อฝาก (นายทุน) เองเด็ดขาด
1.2 ห้ามมอบอำนาจ ให้นายทุนไปทำแทน
ต้องไปทำธุรกรรมที่กรมที่ดินด้วยตนเองเท่านั้น ป้องกันนายทุนแจ้งยอดเงินผิดไปจากความเป็นจริง โดยให้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องให้
1.3 ดอกเบี้ยต้องถูกกฎหมายและได้เงินครบ
กฎหมายขายฝาก กำหนดไว้ว่า อัตราดอกเบี้ยห้ามนายทุนเก็บเกิน 15% ต่อปี หรือ 1.25% ต่อเดือนเท่านั้น และต้องเช็คว่าได้เงินครบถ้วนจริงตอนทำธุรกรรม
มิตรเมืองไทย สัญญาขายฝาก ถูกกฎหมาย 100%
การขายฝาก เป็น ขั้นตอนการเข้าถึงแหล่งเงินทุนรูปแบบหนึ่ง ที่มีกฎหมายกำหนด และ มีการควบคุมโดยกฎหมาย เช่น ขั้นตอนการทำสัญญา อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลา เป็นต้น หากผู้กู้ / ผู้ต้องการเงินทุน ทำอย่างถูกต้องตามกระบวนการที่กฎหมายกำหนด ย่อมได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดย กฎหมายขายฝากฉบับปี พ.ศ. 2562 ได้เอื้อผลประโยชน์ให้กับทางเจ้าของที่ดิน ที่นำที่ดินของตนเองมาขายฝากมากยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการโดนเอาเปรียบโดยนายทุนนอกระบบ และ ป้องกันการถูกยึดทรัพย์โดยนายทุนนอกระบบ
มิตรเมืองไทย ขอนำเสนอ การขายฝาก ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ดอกเบี้ยถูก เพื่อช่วยเหลือประชาชน ชาวบ้าน ที่ถูกเอาเปรียบจากนายทุนนอกระบบ เพื่อช่วยเหลือเจ้าของกิจการ ที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสถาบันการเงินธนาคารได้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยถูกที่สุดเริ่มที่ 0.75% ต่อเดือน หรือ 9% ต่อปี ผ่านกลุ่มนายทุนที่ไม่เอาเปรียบ เพื่อตอบแทนสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
ขั้นตอน ทำสัญญาขายฝาก กับ มิตรเมืองไทย
- ขั้นตอนแรก เป็นการประเมินโฉนดที่ดิน ที่ต้องการนำมาค้ำประกัน (ขายฝาก) มาให้ทางทีมมิตรเมืองไทย พิจารณา ถึงมูลค่าของที่ดินแปลงนั้นๆ เมื่อที่ดินผ่านการพิจารณามูลค่าที่เหมาะสมแล้ว โดยจะดูจาก สภาพที่ดิน แผนที่ ที่ตั้ง ทางเข้าออก สาธารณูปโภค น้ำ ไฟฟ้า ถนน
- ขั้นตอนต่อไปจะทำการพิจารณาวงเงินที่อนุมัติได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับ ทำเล ทางเข้าออก และ สภาพที่ดิน ฯลฯ หลังจากทำสัญญา เมื่อผู้กู้ ตกลงวงเงินและอัตราดอกเบี้ย จำนวนปีที่จะขายฝาก เรียบร้อยแล้ว ก็จะนัดไปดำเนินการจดทะเบียน ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ กรมที่ดิน ที่โฉนดที่ดินแปลงนั้นตั้งอยู่
- สัญญาขายฝาก จะเป็นสัญญาที่กรมที่ดินกำหนด โดย ผู้กู้ยังคงสามารถอาศัย ใช้ประโยชน์ เก็บค่าเช่า เก็บพืชผล บนที่ดินของตนได้ตลอดอายุสัญญาขายฝาก และ การขายฝากที่ถูกต้องจะทำกับกรมที่ดินเท่านั้น
- หากที่ดินแปลงที่จะนำมาค้ำประกันขายฝาก ยังคงติดหนี้ธนาคารสถาบันการเงิน จำนอง ไฟแนนซ์ ขายฝากนายทุนอื่น หรือ นายทุนนอกระบบอยู่ ก็สามารถนัดทำจดนิติกรรมพร้อมกันที่กรมที่ดินได้เลย โดยทำการไถ่ถอนที่ดินแปลงดังกล่าวจาก ธนาคารสถาบันการเงิน จำนอง ไฟแนนซ์ ขายฝาก นายทุนอื่น หรือ นายทุนนอกระบบ ก่อน และ ทำการจดทะเบียนขายฝากใหม่กับทางนายทุนใหม่ของมิตรเมืองไทย
การขยายอายุสัญญา
เมื่อได้รับเงินทุน เรียบร้อย และ จดทะเบียนเสร็จสิ้น ก็สามารถส่งดอกเบี้ย ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน แต่หากต้องการต่ออายุสัญญา ขยายการขายฝาก ก็สามารถทำได้ โดยแจ้งกับทางทีมงาน ทีมงานจะประสานดำเนินการเรื่องเอกสารการขยายสัญญาขายฝากให้ ทั้งนี้ ระยะเวลาการขายฝากจะเท่ากับที่ตกลงกันไว้ โดยตามกฎหมายจะกำหนดไว้ไม่ให้เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนขายฝาก
การไถ่ถอนขายฝาก ปิดหนี้ขายฝาก
การไถ่ถอนจากการขายฝาก สามารถแจ้งได้ล่วงหน้า 3-7 วัน เพื่อให้ทางทีมงานเตรียมเอกสาร และ นัดวันทำจดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก การปิดสัญญา จะทำที่กรมที่ดิน ที่โฉนดตั้งอยู่เท่านั้น และเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะเป็นผู้จดทะเบียนว่า ที่ดินแปลงนี้ได้ปลอดภาระ และกรรมสิทธิ์ทุกอย่างกลับคืนไปสู่เจ้าของโดยสมบูรณ์ หากผู้ขายฝากต้องการปิดยอดก่อนกำหนด ก็สามารถแจ้งทีมงานได้ โดยไม่มีค่าปรับ ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆ
เจ้าของทรัพย์สามารถประกาศขายอสังหาฯที่นำมาขายฝากระหว่างการขายฝากได้ และสามารถขายที่ดินได้ โดยเมื่อมีผู้จะซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวแล้ว เจ้าของทรัพย์สามารถนัดทางทีมงานเพื่อทำการไถ่ถอนที่ดินแปลงนั้น และ ทำเรื่องขายต่อไปยังผู้ซื้อใหม่ ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมใดๆจากที่ตกลงกัน ทางทีมงานมิตรเมืองไทยจะนัดเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เพื่อทำการจดทะเบียนไถ่ถอนจากขายฝาก และ ขายต่อ โดยเจ้าของทรัพย์เพียงแค่ประสานงานกับผู้ซื้อ ให้จ่ายเงินกู้คืนนายทุนเดิมตามยอดของสินไถ่ขายฝากเท่านั้น
นโยบายทีมงาน มิตรเมืองไทย
ทางมิตรเมืองไทย มีจุดประสงค์ เพื่อช่วยเหลือสังคม ประชาชน ให้ดีขึ้น ไม่โดนเอาเปรียบจากนอกระบบ และ เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ถูกกฎหมาย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สังคมประชาชน ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้อยู่รอดไปต่อได้ในสภาวะการแข่งขันที่สูง เนื่องจาก นโยบายของมิตรเมืองไทย ไม่มีนโยบายในการยึดทรัพย์ผู้กู้ ทางทีมงานมิตรเมืองไทยจะคอยให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้กู้สามารถไถ่ถอนทรัพย์สิน / ปิดหนี้ ได้ ดังนั้น นอกเหนือจากการพิจารณาวงเงินจากมูลค่าทรัพย์สิน อสังหาริมทรัพย์ ที่นำมาค้ำประกันแล้ว ทางมิตรเมืองไทยยังคงให้คำปรึกษากับผู้ประสงค์ที่จะกู้เงิน ขอเงินทุน เพื่อประเมินความสามารถในการไถ่ถอน หรือ ชำระดอกเบี้ย ให้ตามกำหนดสัญญา เพื่อให้ผู้กู้สามารถลดภาระดอกเบี้ยและไถ่ถอนปลดหนี้ให้ได้เร็วที่สุด
ทั้งนี้ ท่านใดหากมีความประสงค์ต้องการขอรายละเอียดเพิ่มเติม ลงทะเบียน ก็สามารถขอคำปรึกษาได้โดยตรงกับทีมงานมิตรเมืองไทย ทางทีมงานมิตรเมืองไทย ยินดีช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ปรึกษา ประเมิน ไถ่ถอนจากนายทุนนอกระบบ และ ช่วยให้เงินทุนที่อัตรากฎหมายกำหนด และ ถูกกฎหมาย
สัญญาขายฝาก บทความอ้างอิง
ความรู้ขายฝาก สำนักมาตรฐานทะเบียนที่ดิน กรมที่ดิน
ขายฝากบ้าน อีก 1 ช่องทาง สำหรับคน จำนองบ้าน กับธนาคารไม่ได้
การขายฝากคืออะไร มิตรเมืองไทย มีคำตอบ
นายทุนรับขายฝากเอง ต้อง มิตรเมืองไทย
ขายฝากคอนโด ห้องชุด อันดับ 1 ดอกเบี้ยถูก มิตรเมืองไทย
ขายฝากคืออะไร ไม่ให้โดนหลอก เพียงรู้ 8 ข้อนี้
ขายฝาก คือ เงินทุนทางเลือก ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย ดอกเบี้ยถูก
ขายฝากไม่ส่งดอก : เงินหมุนธุรกิจ กับ มิตรเมืองไทย
สะดวกรวดเร็ว
สอบถามผ่าน ไลน์
ตลอด 24 ชั่วโมง
มิตรเมืองไทย มีทีมงานที่เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาฟรี ตลอดเวลา ช่วยเหลืออย่างเต็มที่
Line ID
ไลน์มิตรเมืองไทย
@mmthai
“ขายฝากเป็นมิตร ต้อง มิตรเมืองไทย”
แหล่งเงินทุน ขายฝาก อสังหาฯ ที่เป็นมิตร กับ ผู้ต้องการเงินทุน บริหารงานโดยมืออาชีพ ถูกกฎหมาย
ดอกเบี้ยถูกเริ่มต้นเพียง 0.75%
ช่วยเหลือผู้ต้องการเงินทุนอย่างจริงใจ
✅ ทำสัญญา และ รับเงิน ณ สำนักงานที่ดิน ปลอดภัย ไว้ใจได้ ถูกต้องตามกฎหมาย 100%
✅ ไม่เช็คเครดิต และ สเตทเมนท์ ไม่จำกัดอาชีพ และ รายได้
✅ ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์
✅ บริการเป็นมิตร พร้อมให้คำปรึกษา ฟรี
โทรหาเรา : 097 963 2951
Line : @mmthai (มี @ ด้วย) ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : www.mitrmuangthai.com